การฟอกเงิน (Money Laundering) คือ กระบวนการที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลพยายามทำให้เงินที่ได้มาจากการทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้ายาเสพติด การพนัน หรือการทุจริต ดูเหมือนว่าเงินนั้นได้มาอย่างถูกกฎหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อปกปิดแหล่งที่มาที่แท้จริงของเงิน และทำให้เงินนั้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระโดยไม่ถูกตรวจสอบ ขั้นตอนการฟอกเงิน (Money Laundering) โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการฟอกเงิน (Money Laundering)จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้ ผลกระทบของการฟอกเงิน (Money Laundering) การฟอกเงิน (Money Laundering)เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในหลายด้าน เช่น…
law
กฎหมายที่ล้าสมัย: ปัญหา ผลกระทบ และแนวทางแก้ไข
กฎหมายที่ล้าสมัย: ปัญหา ผลกระทบ และแนวทางแก้ไข กฎหมายที่ล้าสมัย หมายถึง บทบัญญัติทางกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ส่งผลให้กฎหมายนั้นไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรือไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมในปัจจุบัน ตัวอย่างกฎหมายที่อาจเข้าข่ายล้าสมัย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี: กฎหมายที่ร่างขึ้นและประกาศใช้เมื่อนานมาแล้ว อาจไม่ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลบนโลกไซเบอร์ ซึ่งมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต: กฎหมายบางอย่างอาจไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น…
เจาะลึกข้อดี-ข้อเสียอาชีพทนาย
การเป็นทนายความนั้นมีข้อดีหลายประการที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้: แม้การเป็นทนายความจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีข้อเสียที่ควรพิจารณาเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคและความท้าทายในการทำงาน ดังนี้: ดังนั้น ผู้ที่สนใจจะเป็นทนายความ ควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาข้อดีข้อเสียของอาชีพนี้อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น
มาทำความรู้จักมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) การเริ่มสภาพบุคคลและการสิ้นสุดลง
มาทำความรู้จักมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) การเริ่มสภาพบุคคลและการสิ้นสุดลง มาตรา 15 บัญญัติว่า “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก” สภาพบุคคลธรรมดาเริ่มต้นเมื่อใด? = สภาพบุคคลของมนุษย์จะเริ่มต้นเมื่อคลอดออกมาแล้วและมีชีวิตอยู่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีอายุครบกำหนด สภาพบุคคลธรรมดาสิ้นสุดเมื่อใด? = สภาพบุคคลจะสิ้นสุดลงเมื่อบุคคลนั้นเสียชีวิต สิทธิของทารกในครรภ์ แม้ทารกจะยังอยู่ในครรภ์มารดา แต่ก็สามารถมีสิทธิบางอย่างได้ เช่น สิทธิในการรับมรดก…
ส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ (Principle of Insurable Interest) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863
ส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ (Principle of Insurable Interest) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” เป็นที่มาหลักเกี่ยวกับส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้ (Principle of Insurable Interest) ตามกฎหมายมาตรานี้ เราจะระบุได้ว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในชีวิตของผู้ที่ตนได้เอาประกันภัยไว้ โดยเป้าหมายของกฎหมายข้อนี้คือการที่ จะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลประโยชน์จากบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียจากความเป็นและความตาย ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนที่มีการพนันชีวิตความเป็นหรือความตาย…
8 คำศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนคิดจะทำประกันชีวิต
8 คำศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนคิดจะทำประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนขายประกันหรือคนซื้อประกัน สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจในภาษาเดียวกัน ต้องเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับการประกันชีวิต เพื่อเข้าใจซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นเพื่อให้ผู้ซื้อประกันเข้าใจกรมธรรม์ไม่ถูกตัวแทนประกันที่ไม่มีความสามารถหลอกลวงได้ การประกันชีวิต (Life Insurance) หมายถึง การประกันภัยที่การจ่ายเงินอาศัยการทรงชีพ หรือการมรณะของบุคคลเป็นเหตุในการจ่าย ดังนั้นหากเราเกิดเสียชีวิตขึ้นมาก็จะสามารถได้รับเงินที่ตกลงไว้กับบริษัทประกันชีวิตหรือได้รับเงินหากครบกำหนดสัญญาตามที่ได้ตกลงกับบริษัท สำหรับการประกันชีวิตเป็นการหารเฉลี่ยความเสี่ยงโดยบริษัทรับประกันชีวิตจะคำนวณเพื่อเฉลี่ยความเสียหายกับบุคคลอื่นที่ทำประกันชีวิตของบริษัทในลักษณะมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน การประกันภัย (Insurance) เกิดจากคำว่าประกันชีวิตและการประกันวินาศภัยรวมกัน เป็นการจัดการบริหารความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้น และให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับผิดชอบความเสี่ยงนั้น ดังนั้น ไม่ว่าการประกันชีวิต (Life Insurance) หรือ…
ความหมายทางอนุมัติ มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร
อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ทางที่ใช้ขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ จากเขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก ต้องขนส่งตามทางอนุมัติ และภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติว่า “ในพระราชบัญญัตินี้ “ทางอนุมัติ” หมายความว่า ทางที่ใช้ขนส่งของเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจากเขตแดนทางบกมายังด่านศุลกากร หรือจากด่านศุลกากรไปยังเขตแดนทางบก” มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ….
ความหมายด่านพรมแดน มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวง ด่านพรมแดนเป็นด่านสาขาของด่านศุลกากรทางบกสำหรับตรวจทางบกซึ่งหมายความรวมตลอดถึง ทางลำน้ำซึ่งเป็นเขตแดนทางบก ณ บริเวณเขตแดนทางบกบนทางอนุมัติ เพื่อประโยชน์ในการตรวจของที่ขนส่ง มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ บัญญัติว่า “ในพระราชบัญญัตินี้ “ด่านพรมแดน” หมายความว่า ด่านที่ตั้งขึ้น ณ บริเวณเขตแดนทางบก บนทางอนุมัติ…
ความหมายด่านตรวจ มาตรา ๑๖๓ พระราชบัญญัติศุลกากร
อธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้ประกาศตั้งด่านตรวจโดยอาศัยอำนาจตามความ มาตรา ๑๖๓ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ ด่านตรวจเป็นด่านสาขาของด่านศุลกากรทางน้ำสำหรับตรวจเรือทางทะเลที่จะเข้าไปหรือออกมาจาก ด่านศุลกากรที่ด่านตรวจนั้นสังกัด มาตรา ๑๖๓ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติว่า “อธิบดีมีอำนาจตั้งด่านตรวจเรือเข้าและออก และจะมอบหมายให้พนักงานศุลกากรประจำอยู่ในเรือลำใด ๆ ในเวลาที่เรือนั้นอยู่ในเขตน่านน้ำไทยก็ได้ เรือทุกลำที่จะผ่านด่านตรวจต้องมีพนักงานศุลกากรขึ้นเรือกำกับไปด้วย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากรกำกับด่านตรวจ และเมื่อเรือลำนั้นจะออกจากเขตท่า ให้หยุดลอยลำที่ด่านตรวจเพื่อส่งพนักงานศุลกากรขึ้นจากเรือ” มาตรา ๒๑๔ พระราชบัญญัติศุลกากร…
ความหมายด่านศุลกากร มาตรา ๔ มาตรา ๕ พระราชบัญญัติศุลกากร
ด่านศุลกากร หมายความว่า ท่า ที่ หรือสนามบินที่ใช้สำหรับการนำของเข้า การส่งของออก การผ่านแดน การถ่ายลำ และการศุลกากรอื่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎกระทรวงอาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติว่า ““ด่านศุลกากร” หมายความว่า ท่า…